วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


โครงร่างงานวิจัยของนักศึกษา

งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดคัดตัวอักษรเพื่อเด็กปฐมวัย : โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม.. 2555
ART DESIGN PROJECT OF EXERCISE BOOK
ชื่อผู้ทำวิจัย นายชัยมงคล พลบำรุง
รหัสประจำตัว 5311310766
สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)
ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ .............................................
(.............................................)





คณบดีหรือรองคณบดีพิจารณาเห็นชอบ
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ .............................................
(.............................................)






ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมประเภทนักศึกษา

ส่วน ก : ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย
1. ปีการศึกษาที่เสนอขอรับทุน ...............................
2. ประเภทการวิจัย
( ) การวิจัยเชิงสำรวจ ( ) การวิจัยเชิงทดลอง ( ) การวิจัยและพัฒนา
3. งบประมาณที่เสนอขอทุน 5000 บาท
4. ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี

ส่วน ข : รายละเอียดการทำวิจัย
1. ชื่อโครงการวิจัย
ศิลปะการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดคัดตัวอักษรเพื่อเด็กปฐมวัย : โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม พ.. 2555
ART DESIGN PROJECT OF EXERCISE BOOK
2. ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
1. ภาพเหมือนจริง
คือถ่ายทอดลักษณะทางกายภาพออกมาสมส่วน เหมือนหรือคล้ายใกล้เคียงของจริงมาก มีต้นแบบจากสิ่งที่มีอยู่จริง โครงสร้างลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ในการ์ตูนแบบนี้ดูสมส่วนเป็นไปได้ สามารถก่อสร้างขึ้นได้จริง ดังนั้นลักษณะการ์ตูนประเภทนี้จึงดูน่าเชื่อถือ
2. ภาพเกินจริง
คือเป็นภาพที่ออกเกินเลยของจริง ไม่สมส่วน มีความสามารถเกินจริง เช่น บินได้ ล้มต้นไม้ใหญ่ด้วยมือเปล่า อวัยวะบางส่วนใหญ่หรือเล็กเกินจริง มีอวัยวะบางอย่างน้อยหรือมากเกินจริง เช่น มีนิ้วมือ 8นิ้ว มีตา 3ตา เป็นต้น
3. ลักษณะเฉพาะ
ไม่เหมือนจริง คือเป็นลักษณะภาพวาดตามจินตนาการของผู้แต่ง หรือนักเขียนไปเลย โดยลักษณะภาพมีเอกลักษณ์เฉพาะนักเขียนแต่ล่ะท่าน ที่นิยมคือ มีลักษณะหัวใหญ่ ตัวผอม ตาโต ดูน่ารัก แสดงอารมณ์ชัดเจน








การผสมผสานระหว่างหนังสือการ์ตูนกับหนังสือแบบเรียน
หนังสือแบบฝึกหัดเรียนของเด็ก ก - , A-Zจะมีการผสมผสานกันทั้ง2อย่างเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และ มีแรงจูงใจที่จะทำการในแบบฝึกหัดในหนังสือนั้น เพื่อสร้างความสนุกและสีสันให้เด็ก คือต้องนำแบบการ์ตูนมาใส่พร้อมกับสีสันและหน้าตาอารมในหนังสือนั้นบวกกับการใส่เนื้อหาลงไปให้น่าอ่านและน่าเขียนที่จะให้เด็กเรียนรู้ ต้องตอบสนองความต้องการของเด็กให้มากที่สุด
การเลือกใช้สีสันควรใช้สีที่ไม่ฉูดฉาดเกินไปลดสีดำกับแดงเพิ่มสีที่สดใสเช่น ฟ้า,น้ำเงิน,เหลือง,ขาว ฯล เล่นตัวละครหรือตัวเด่นในหนังสือจะต้องทำให้เด็กเข้าใจว่าเป็นตัวไหนอะไรทำอะไรใส่อารมให้เข้ากับบทบาทในเนื้อหาไม่ต้องเน้นเสมือนจริง เน้นความน่ารักจะดึงดูดเด็กให้สนใจได้มากกว่า
รูปแบบการใส่ข้อความที่จะให้คัดอักษรควรมีทั้งประโยคและคำแต่ละคำ ตามหนังนั้น ประโยคก็จะเป็นคำพูดของตัวละคร และแต่ละหน้าอาจจะเว้นวรรคไว้ในการสะกดคำไปแต่ละตัว เช่น ก ข ค ,A B C เป็นต้น

ความสำคัญของหนังสือและประโยชน์ของหนังสือ
หนังสือมีความสำคัญและมีประโยชน์กับชีวิตมาก เพราะมนุษย์ต้องการแสวงหาคำตอบที่ตนอยากรู้ อยากเห็นด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ซักถาม และเดินทาง เป็นต้น แต่วิธีที่มนุษย์จะแสวงหาคำตอบได้ดีที่สุด และสะดวกที่สุด คือ การแสวงหาคำตอบจากหนังสือ ดังนั้นหนังสือจึงเป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีที่สุด
ประโยชน์ของแบบฝึก
1. เป็นส่วนเพิ่มหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วย
ลดภาระของครูได้มาก เพราะแบบฝึกเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ
2. ช่วยเสริมทักษะทางการใช้ภาษา แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กฝึกทักษะการใช้
ภาษาได้ดี แต่ต้องอาศัยการส่งเสริมและเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย
3. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเด็กมีความสามารถทางภาษา
แตกต่างกัน การให้เด็กทำแบบฝึกที่เหมาะสมกับความสามารถจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในด้านจิตใจมากขึ้น
4. แบบฝึกช่วยเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทนโดยกระทำ ดังนี้
4.1 ฝึกทันทีหลังจากที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องนั้น ๆ
4.2 ฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
4.3 เน้นเฉพาะเรื่องที่ต้องฝึก
5. แบบฝึกที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้หลังจากบทเรียนในแต่ละครั้ง
6. แบบฝึกที่จัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม เด็กสามารถเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นแนวทางและทบทวน
ด้วยตนเองได้ต่อไป
7. การให้เด็กทำแบบฝึกช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของเด็กได้ชัดเจน
ซึ่งจะช่วยให้ครูดำเนินการปรับปรุงแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ทันท่วงที
8. แบบฝึกที่จัดทำขึ้น นอกเหนือจากที่มีอยู่ในหนังสือเรียน จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝน
อย่างเต็มที่
9. แบบฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อย จะช่วยให้ครูประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการที่จะ
ต้องจัดเตรียมสร้างแบบฝึกอยู่เสมอ ในด้านผู้เรียนก็ไม่ต้องเสียเวลาลอกแบบฝึกจากตำราเรียน ทำให้มีโอกาสฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ได้มากขึ้น
10. แบบฝึกหัดช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นรูปเล่มแน่นอนย่อมลงทุนต่ำกว่าที่จะพิมพ์ลงกระดาษไขทุกครั้ง ผู้เรียนสามารถบันทึกและมองเห็นความก้าวหน้าของตนเองได้อย่างมีระบบระเบียบ
3. วัตถุประสงค์การวิจัย
-เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย
- เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง(PROTOTYPE)ของการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย


4. สมมติฐานการวิจัย

5. นิยามศัพท์เฉพาะ
BOOK : หนังสือเป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ

การออกแบบ
การเลือกสรรส่วนประกอบต่างๆทางด้านศิลปะมาจัดเป็นรูปแบบต่างๆขึ้นรวมถึงแนวความคิดของศิลปินในการจัดองค์ประกอบศิลป์ เช่นการจัดทิศทาง ขนาด รูปร่างของเส้น มุม และรูปทรงต่างๆ โดยเราต้องคำนึงถึงการจัดวาง ความสมดุลสิ่งเหล่านี้ที่เป็นส่วยประกอบของการออกแบบ









6. ขอบเขตการวิจัย
6.1 แบบร่าง (IDEA SKETCH)
6.2 แบบที่ทำการสรุป (CONCEPT SKETCH)
6.3 แบบเพื่อนำไปผลิต (WORKING DRAWING หรือ ART WORK)
6.4 ต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE)
6.5 รายงานการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ
6.6 ซีดีรายงานการวิจัยจำนวน 1 ชุด

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.กระบวนการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย
2.ต้นแบบเหมือนจริงของศิลปะการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย
3.ประสบความสำเร็จและพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

8. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
ในการวิจัยเรื่องการออกแบบหนังสือแบบฝึกหัดเด็กปฐมวัย ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตรงตามConcept ที่กำหนดไว้และเป็นงานที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีของสีและการจัดองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบรูปภาพและแบบฝึกหัด ผู้ศึกษาจึงใช้หลักการที่เกี่ยวข้องดังนี้
8.1 ทฤษฎี
8.1.1 การออกแบบรูปภาพและแบบฝึกหัด เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ การรู้จักคิด วางแผน ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่แล้วนำมาปรับปรุง ดัดแปลงแก้ไข หรือสร้างสรรค์ใหม่โดยใช้วิธีการต่างๆ ทำให้เกิดความงาม เพื่อการประดิษฐ์ตกแต่งใหม่ให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย (เอมอร วิศุภกาญจน์,2542 : 2)
8.1.2 หลักการใช้สี
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมากในด้านของการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก การที่เราจะกำหนดสีสัน ผู้ออกแบบควรรับรู้หลักการใช้สีเพื่อจะได้กำหนดสีได้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอยอีกด้วย
(ดุษฎี สุนทรารชุน,2531 :107)
8.1.3 หลักการใช้สีประกอบร่วมแบบวรรณะ (TONE)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีเราจะนำมาระบายนั้นส่วนใหญ่มักจะใช้สีประกอบร่วมแบบ
วรรณะใดวรรระหนึ่ง แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ที่ทำการออกแบบที่จะมุ่งที่ทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก ไปในทางร้อนหรือเย็น หรืออีกทางหนึ่งก็คือทำให้เกิดการผสมผสานและกลมกลืนกัน การใช้สี
ประกอบร่วมวรรณะจะไม่ใช้วรรณะใดวรรณะหนึ่งโดดเดี่ยว โดยกำหนดหลักการใช้สีไว้ ในอัตรา
50/50,60 /40,80/20 (คนึง จันทร์ศิริ:มปป.)
8.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
8.2.1 โครงการออกแบบหนังสือการ์ตูน : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม พบว่า การนำจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัยมาทำการประยุกต์และนำเสนอในรูปแบบใหม่ลงในหนังสือ สร้างเนื้อหาและรูปแบบหนังสือพร้อมกับข้อคิดตอนท้ายเรื่อง ทำให้คนที่อ่านหนังสือเล่มนั้นได้คิดตามเรื่องที่เกิดขึ้นในหนังสือ และมีข้อคิดให้คิดตามกับผมที่ตามมาจากเนื้อเรื่อง

9. ระเบียบวิธีวิจัย
9.1 ประชากร
กลุ่มผู้บริโภคgeneration จำนวน 30 คน
9.2 การสุ่มตัวอย่าง
ใช้การสุ่มแบบง่าย ตามสูตรยามาเน
จากนั้นจึงกำหนดกระบวนการตามกรอบการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
9.2.1 ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต (PRE-PRODUCTION)
- กำหนดประเด็นของปัญหา ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม เพื่อ
ตั้งสมมติฐาน
- จัดทำแบบร่าง (IDEA SKETCH) และทำการสรุปแบบตามสมมติฐาน
(CONCEPT SKETCH)
9.2.2 ขั้นตอนการผลิต (PRODUCTION)
- แสดงกระบวนการผลิตต้นแบบเหมือนจริง
9.2.3 ขั้นตอนหลังการผลิต ( POST PRODUCTION)
-ประเมินผลด้วยเครื่องมือที่สร้างไว้โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะของ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
9.3 เครื่องมือในการวิเคราะห์มูล
- แบบสอบถามความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
- แบบสัมภาษณ์
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
- วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) จากร้อยละ









คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความซึ่งตรงกับความเป็นจริงของท่าน โดยมีเครื่องหมายของ ระดับความคิดเห็นดังนี้
5 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด
4 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก
3 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง
2 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อย
1 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด
รายละเอียด
แบบที่ 1
5 4 3 2 1
แบบที่ 2
5 4 3 2 1
แบบที่ 3
5 4 3 2 1
1.การสื่อสาร ความหมาย ความเข้าใจ
1.1หนังสือนี้บอกความหมายได้ชัดเจน
1.2 หนังสือนี้บอกความหมายตรงตามชื่อได้ชัดเจน
1.3 หนังสือนี้สามารถสื่อความหมายสิดคล้องและง่ายต่อการจดจำ
2. วัตถุประสงค์ในการออกแบบ
2.1หนังสือนี้แสดงเครื่องหมายของความเป็นไทย
2.2 หนังสือนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้งาน
3. หลักศิลป์และความงาม
3.1 หนังสือนี้ใช้สีได้สวยงามและเหมาะสม
3.2 ส่วนภาพประกอบต่าง ๆ ประสานกลมกลืนกัน
3.3 หลักความสนใจแรงดึงดูดเกี่ยวกับหนังสือนี้
4. การรับรู้
4.1 ความสามารถในการเรียนรู้และทักษะของความจำและการเขียนดีขึ้น
4.2 หนังสือมีความเหมาะสมกับอายุผู้บริโภคอย่างถูกต้อง






ข้อเสนอแนะ
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
- แบบสัมภาษณ์
1. หนังสือนี้ผลิตขึ้นมาจำหน่ายกี่เล่ม
2. กลุ่มผู้บริโภคซื้อมาใช้เพื่อสร้างทักษะและความรู้ได้อย่างไร
3. การขนย้ายหนังสือแบบเป็นแพจเกจเป็นอย่างไร มีกี่วิธี
4. ท่านมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือในแนวทางต่าง ๆ อย่างไร
9.4การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
- วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (X) จากร้อยละ


วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจ หนังสือคัดคำอักษร A-Z,ก-ฮ,1-10







แรงบันดาลใจในการทำงานแบบการออกแบบ หนังสือคัดคำ

      หนังสือแบบฝึกหัดคัดคำต่างๆเช่น A-Z ก-ฮ 1-10 1-100 หนังสือเหล่านี้ใช้รูปแบบในการออกแบบรูปเล่นและเนื้อหาในหนังสือนั้นได้มีความคิดที่สร้างสรรค์ และหนังสือเก่าๆที่ออกมาอาจไม่มีลูกเล่นในการใส่ตัวการ์ตูน และสีสันเข้าไป  แต่หนังสือรุ่นใหม่ที่ออกมา ได้ใส่การ์ตูนแล้วลูกเล่นหลายแบบเข้าไป ทำให้หนังสือมีความน่าสนสำหรับเด็กมากยิ่งขึ้น เพราะ เด็กจะสนใจในการลงสีตัวการ์ตูน และในแต่ละหน้าจะมีตัวอักษรให้คัด และลงสีตามลายเส้นปะ ที่ตั้งไว้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และความสนุกในการทำแบบฝึกหัดในหนังสือมากยิ่งขึ้น
     การเพิ่มรูปบบหนังสือและการผสมผสานเนื้อหาและสีสันลูกเล่นในหนังสือ ได้ศึกษามาจากหนังสือหลายๆเล่ม เช่น หนังสือคัดคำ ที่มีแต่คำอักษรให้คัดอย่างเดียว ซึ่งเห็นว่าอาจทำให้เกิดความน่าเบื่อได้ง่าย หนังสือที่ออกแบบใหม่มาจรึงเพิ่มความบรรเทิงและสีสันให้มากยิ่งขึ้นโดยการใส่ตัวการ์ตูน ตามในเรื่องต่างๆ เช่น 
-หนังสือคัดคำ เกี่ยวกับสัตว์ ก็จะประกอบไปด้วย 
1.อักษรเส้นปะภาษาอังกฤษหรือไทย
2.รูปการ์ตูนสัตว์ต่างๆ ตามชื่อสัตว์ตัวนั้น เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับเด็กในการสะกดชื่อสัตว์ต่างๆ
3.สีสันของสัตว์ที่รูปแบบตัวจริงกับตัวที่ไม่มีสีให้ลงสีด้วยตัวเอง
เป็นต้น
   รูปแบบหนังสืออีกประเภทคือ หนังสือนิทาน ที่มีเนื้อหาให้อ่านในตัวหนังสือ มีคำสอนเหมือนนิทานอีสป รวมทั้งมีเส้นปะคัดคำให้คัดเป็นโยคต่างๆ ตามเนื้อหาในหนังสือนั้น
* การรายงานทั้งหมดนี้คือแรงบันดาลใจในการทำงานประเภทการออกแบบหนังสือคัดคำ เป็นการรวบรวมการศึกษาหนังสือต่างๆ และทำขึ้นมาเสริมความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มยิ่งขึ้นไป !!!

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความหมายของหนังสือ


ความเป็นมาของหนังสือ

หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ

ประเภทของหนังสือ


นิตยสาร (อังกฤษmagazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้
คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร"
เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ.ส.ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม
นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450
นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน
การตีพิมพ์นิตยาสาร
องค์ประกอบของนิตยสารอาจมีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก องค์ประกอบหลัก เช่น วาระการออก รูปแบบ เป้าหมายกลุ่มผู้อ่านมีความผันแปรหาความตายตัวไม่ได้ นิตยสารบางฉบับจะเจาะเรื่องที่น่าสนใจเฉพาะ เช่น เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะ งานอดิเรก หรือการเมือง รวมทั้งแนวศิลปะ บันเทิง แฟชั่น รถยนต์ ท่องเที่ยวระยะการออกจึงมีตั้งแต่รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน ราย 3 เดือน (quarterly) ราย 6 เดือนไปจนถึงรายปี
ปกตินิตยสารจะมีวันที่ปรากฏบนปกซึ่งมักล่าจากวันที่วางตลาด นิตยสารเกือบทั้งหมดจะวางจำหน่ายตามร้านและแผงขายหนังสือทั่วประเทศ ผู้บอกรับเป็นสมาชิกจะได้รับนิตยสารทางไปรษณีย์
นิตยสารส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในจำนวนที่มากและพยายามทำให้ต้นทุนการพิมพ์ต่ำเพื่อให้มีราคาขายต่ำ นิตยสารบางประเภทที่มีต้นทุนการพิมพ์สูงมักอาศัยการลงโฆษณามาช่วยลดราคาขายให้ต่ำลง
นิตยสารทุกเล่ม จะต้องขออนุญาตจัดพิมพ์จากทางราชการ และได้รับหมายเลขสากลประจำนิตยสาร เรียกว่า ISSN (International Standard Serial Number) ซึ่งนิตยสารจะตีพิมพ์ไว้ในส่วนที่เห็นชัดของเล่ม เช่น ปกหน้า สารบัญ สันปก หรือปกหลัง



  • วารสารวิชาการ หมายถึงสิ่งพิมพ์รายคาบที่ตีพิมพ์เป็นระยะอย่างสมำเสมอและจะต้องผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้รู้ในสาขาวิชานั้นๆ หรือที่เรียกวารสารประเภทนี้เป็นการเฉพาะว่า วารสารผ่านการทบทวนโดยผู้รู้เท่ากัน (peer-reviewed periodical) วารสารวิชาการเป็นเวทีสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่หรือความเห็นทางวิชาการใหม่ๆ
  • นิตยสาร คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ โดยทั่วไปหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้
  • นิตยสารวิชาชีพ ได้แก่สิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกโดยกลุ่มวิชาชีพต่างๆ ประกอบด้วยบทความทางวิชาการที่ไม่ผ่านการทบทวนโดยผู้รู้เท่ากัน ปกิณกะคดีและความรู้ในวิชาชีพสำหรับบุคคลทั่วไป ปกติวางจำหน่ายทั่วไปและมีรายได้จากการโฆษณา
  • หนังสือพิมพ์รายวัน ที่เน้นข่าวและข้อมูลข่าวสารทั่วไป ปกติจะพิมพ์ด้วยกระดาษราคาถูก หนังสือพิมพ์รวมรวมข่าวฉบับแรกของโลก ชื่อ Relation aller Fürnemmen und gedenckwürdigen Historien หรือ "รวมข่าวสำคัญและน่าจดจำ" โดย "โยฮานน์ คาโรลัส" (Johann Carolus) ตีพิมพ์ในเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 2148 (สมัยพระนเรศวร)
นิตยสาร หนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสารรายสัปดาห์นับเป็นส่วนประกอบหลักของ สิ่งพิมพ์รายคาบ
หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก
เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง
ประวัติหนังสือพิมพ์
ประมาณ 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคอาณาจักรโรมันที่อารยธรรมเจริญยิ่ง จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์บัญชาให้อาลักษณ์คัดลอกแถลงการณ์ของพระองค์ รวมถึงข่าวประจำวันของราชการ แล้วนำไปปิดไว้ตามกำแพงในที่ชุมชนเพื่อประชาชนได้อ่านทั่วถึง ใบประกาศนั้นเรียก "แอ็กตา ดิอูนา" (Acta diuna) นับว่าเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์ ขณะที่ทางตะวันออก ในประเทศจีนก็ได้กำเนิดหนังสือพิมพ์ ซิงเป้า (Tsing Pao) ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับราชการสำนักมาตั้งแต่ พ.ศ. 1043
จากแผ่นประกาศข่าว วิวัฒนาการเป็นจดหมายข่าว และหนังสือข่าว รายงานข่าวสารทางการค้า การเมือง แล้วพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ. 1997 ที่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และตัวพิมพ์ขึ้น และวิลเลียมส์ แซกส์ตันนำเครื่องพิมพ์ไปใช้ในประเทศอังกฤษ
การพัฒนาแท่นพิมพ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ที่สุดหนังสือพิมพ์ฉบับแรกก็เกิดขึ้น คือ Avisa Relation Order Zeitung พิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 2152 แต่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์รายวัน กระทั่ง พ.ศ. 2165 อังกฤษรวบรวมข่าวรายวันมาพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ในชื่อ A Weekly News London ถือเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก โดยเสนอข่าวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรป เป็นของใหม่ที่ได้รับความสนใจมากพอควร แต่ออกเป็นรายสัปดาห์ ต่อมา ได้มีผู้ริเริ่มออกหนังสือพิมพ์เป็นรายวันคนแรกของโลกคือ เอ็ดวาร์ด มอลเลต หนังสือชื่อ The Daily Courant ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2245 เปิดโลกใหม่ด้วยการเสนอบทความ บทวิจารณ์สังคม คอลัมนิสต์ชื่อดังคือ ดาเนียล เดอโฟ
บทวิจารณ์เขาโจมตีรัฐบาลและวิธีการปฏิบัติศาสนกิจของคริสต์ ถูกใจประชาชน แต่เป็นที่ขัดใจของกษัตริย์และพระสันตะปาปา เขาถูกจับตัวคุมขัง แต่มีเพื่อนดีจัดหาอุปกรณ์เครื่องเขียนให้ เดอโฟจึงคิดออกหนังสือพิมพ์ วิธีการคือเขาเป็นผู้เขียนข่าวหรือบทความจากข้อเท็จจริงที่เพื่อนส่งมาให้จากภายนอก เสร็จแล้วส่งออกไปพิมพ์ นั่นเป็นจุดกำเนิดของหลักการ "เขียนข่าวใหม่" หรือเรียบเรียงข่าว หรือ Rewriting